Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: การเผยแพร่ศาสนาฮินดูในประเทศไทย


Veteran Member

Status: Offline
Posts: 42
Date:
การเผยแพร่ศาสนาฮินดูในประเทศไทย
Permalink   


การเผยแพร่ศาสนาฮินดูในประเทศไทย


 


ศาสนาฮินดูที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทยนั้นคือช่วงที่เป็นศาสนาพราหมณ์ โดยเข้ามาที่ประเทศไทยเมื่อใดนั้นไม่ปรากฏระยะเวลาที่แน่นอน ในที่นี้ขอเรียกว่าศาสนาพราหมณ์ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในความเข้าใจ นักประวัติศาสตร์ศิลป์ส่วนมากสันนิษฐานว่า ศาสนาพราหมณ์นี้น่าจะเข้ามาก่อนสมัย สุโขทัย โบราณสถานและรูปสลักเทพเจ้าเป็นจำนวนมาก ได้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของศาสนา เช่น รูปสลักพระนารายณ์ 4 กร ถือสังข์ จักร คทา ดอกบัว สวมหมวกกระบอก เข้าใจว่าน่าจะมีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 9-10 หรือเก่าไปกว่านั้น (ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กรุงเทพฯ) นอกจากนี้ได้พบรูปสลักพระนารายณ์ทำด้วยศิลาที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โบราณสถานที่สำคัญที่ขุดพบ เช่น ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี เทวสถานเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์


 


ต่อมาในสมัยสุโขทัยศาสนาพราหมณ์ได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นควบคู่ไปกับพุทธศาสนาในสมัยนี้มีการค้นพบเทวรูป พระนารายณ์ พระอิศวร พระพรหม พระแม่อุมา พระหริหระ ส่วนมากนิยมหล่อสำริด


นอกจากหลักฐานทางศิลปกรรมแล้วในด้านวรรณคดีได้แสดงให้เห็นถึงความเชื่อของศาสนาพราหมณ์ เช่น ตำหรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์หรือนางนพมาศ หรือแม้แต่ประเพณีลอยกระทง เพื่อขอสมาลาโทษพระม่คงคา น่าจะได้อิทธิพลจากศาสนาพราหมณ์เช่นกัน ในสมัยอยุธยา เป็นสมัยที่ศาสนพราหมณ์เข้ามามีอิทธิพลทางวัฒนธรรมประเพณีเช่นเดียวกับสุโขทัย พระมหากษัตริย์หลายพระองค์ทรงยอมรับพิธีกรรมที่มีศาสนาพราหมณ็เข้ามามีส่วน เช่น พิธี แช่งน้ำ พิธีทำน้ำอภืเษกก่อนขึ้นครองราชสมบัติ พิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีจองเปรียง พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีตรียัมปวาย เป็นต้น


โดยเฉพาะสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงนับถือทางไสยศาสตร์มากถึงขนาดทรงสร้างเทวรูปกุ้มด้วยทองคำทรงเครื่องลงยาราชาวดีสำหรับตั้งในการพระราชพิธีหลายองค์ ในพิธีตรียัมปวายพระองค์ได้เสด็จไปส่งพระเป็นเจ้าถึงเทวสถานทุก ๆ ปี


ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น พิธีต่าง ๆ ในสมัยอยุธยายังคงได้รับการยอมรับนับถือจากพระมหากษัตริย์และปฏิบัติต่อกันมา ซึ่งมีดังนี้


 


 


1.พระราชพิธีบรมราชาภิเษก


พระราชพิธีนี้มีความสำคัญ เพราะเป็นการเทิดพระเกียรติขององค์พระประมุข พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้โปรดเกล้าฯให้ผู้รู้แบบแผนครั้งกรุงเก่าทำการค้นคว้าเพื่อจะได้สร้างแบบแผนที่สมบูรณ์ตามแนวทางแต่เดิมมาใน


สมัยกรุงศรีอยุธยาและเพิ่มพิธีสงฆ์เข้าไปซึ่งมี 5 ขั้นตอoขั้นเตรียมพิธี มีการทำพิธีเสกน้ำ การทำพิธีจารึกพระสุพรรณบัฎดวงพระราชสมภพและแกะพระราชสัญจกรประจำรัชกาลขั้นพิธีเบื้องต้น


    มีการเจริญพระพุทธมนต์ ขั้นพิธีบรมราชาภิเษก มีการสรงพระมุรธาภิเษก จากนั้นการถวายสิริราชสมบัติและเครื่องสิริราชกกุธภัณฑ์ ขั้นพิธีเบื้องปลายเสด็จออกมหาสมาคมและสถาปนาสมเด็จพระบรมราชินีแล้วเสด็จพระราชดำเนินไปทำพิธีประกาศ พระองค์เป็นศาสนูปถัมภกในพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งถวายบังคมพระบรมศพพระบรมอัฐิพระเจ้าอยู่หัวองค์ ก่อนและเสด็จเฉลิมพระราชมณเฑียร เสด็จเลียบพระนคร


การทำน้ำอภิเษก พระมหากษัตริย์ที่จะเสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติบรมราชาภิเษก จะต้องสรงพระมุรธาภิเษกและทรงรับน้ำอภิเษกก่อนได้รับการถวายสิริราชสมบัติตามตำราพราหมณ์ น้ำอภิเษกนี้ใช้น้ำจากปัญจมหานที คือ คงคา ยมุนา มหิ อจิรวดี และสรภู ซึ่งทำเป็นน้ำที่ไหลมาจากเขาไกรลาส อันเป็นที่สถิตย์ของพระศิวะสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 4 ใช้น้ำ 4 สระในเขตสุพรรณ คือ สระเกษ สระแก้ว สระคงคา และสระยมุนา และได้เพิ่มน้ำจากแม่น้ำสำคัญในประเทศ 5 สาย คือ


 


-น้ำในแม่น้ำบางปะกง ตักที่บึงพระอาจารย์ แขวงนครนายก


-น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ตักที่ตำบลบางแก้ว เขตอ่างทอง


-น้ำในแม่น้ำราชบุรี ตักที่ตำบลดาวดึงส์ เขตสมุทรสงคราม


-น้ำในแม่น้ำเพชรบุรี ตักที่ตำบลท่าไชย เขตเมืองเพชรบุรี


แบบนิกายพุทธตันตระ


 


 


3.พระราชพิธีจองเปรียง


พิธีจองเปรียง คือ การยกโคมตามประทีปบูชาเทพเจ้าตรีมูรติ กระทำในเดือนสิบสองหรือเดือนอ้าย โดยพราหมณ์เป็นผู้ทำพิธีในพระบรมมหาราชวัง พระราชครู ฯ ต้องกินถั่วกินงาน 15 วัน ส่วนพราหมณ์อื่นกินคนละ 3 วัน ทุกเช้าต้องถวายน้ำมหาสังข์ ทุกวันจนถึงลดโคมลง ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงโปรดให้เพิ่มพิธีพุทธศาสนาเข้ามาด้วยโดยโปรดให้มีสวดมนต์เย็นแล้วฉันเช้า อาลักษณ์อ่านประกาศพระราชพิธี จากนั้นแผ่พระราชกุศลให้เทพยดาพระสงฆ์เจริญพุทธมนต์ต่อไป จนได้ฤกษ์แล้วทรงหลั่งน้ำสังข์และเจิมเสาโคมชัยจึงยกโคมขึ้น เสาโคมชัยนี้ที่ยอดมีฉัตรผ้าขาว 9 ชั้น โคมประเทียบ 7 ชั้น ตลอดเสาทาน้ำปูนขาว มี หงส์ติดลูกกระพรวน นอกจากนี้ มีเสาโคม บริวารประมาณ 100 ต้น ยอดฉัตรมีผ้าขาวสามชั้น


 


4.พระราชพิธีตรียัมปวาย


เป็นพิธีส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ของพราหมณ์ เชื่อกันว่าเทพเจ้าเสด็จมาเยี่ยมโลกทุกปีจึงจัดพิธีต้อนรับให้ใหญ่โตเป็นพิธีหลงงที่มามานานแล้ว ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้จัดกันอย่างใหญ่โตมากกระทำพระราชพิธีนี้ที่เสาชิงช้าหน้าวัดสุทัศน์ ชาวบ้านเรียกพิธีนี้ว่า "พิธีโล้ชิงช้า" พิธีนี้กระทำในเดือนอ้าย ต่อมาเปลี่ยนเป็นเดือนยี่


 


 


5.พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัล


แต่เดิมมาเป็นพิธีพราหมณ์ ภายหลังได้เพิ่มพิธีสงฆ์จึงทำให้เกิดเป็น 2 ตอน คือ พิธีพืชมงคลเป็นพิธีสงฆ์เริ่มตั้งแต่การ


นำพันธ์พืชมาร่วมพิธี พระสงฆ์สวดมนต์เย็นที่ท้องสนามหลวงจนกระทั่งรุ่งเช้ามีการเลี้ยงพระต่อ ส่วนพิธีจรดพระนังคัลเป็นพิธีของพราหมณ์กระทำในตอนบ่ายปัจจุบันนี้พิธีกรรมของพราหมณ์ที่เข้ามามีอิทธิพลต่อสังคมไทยเริ่มลดบทบาทลงไปมากเพราะพุทธศาสนาได้เข้ามา มีอิทธิพลแทนทั้งในพระราชพิธีและพิธีกรรมทั่ว ๆ ไปในสังคม อย่างไรก็ตามพิธีพราหมณ์เท่าที่เหลือ


อยู่และยังมีผู้ปฏิบัติสืบกันมา ได้แก่พิธีโกนผมไฟ พิธีโกนผมจุก พิธีตั้งเสาเอก พิธีตั้งศาลพระภูมิ พิธีเหล่านี้ยังคงมีผู้นิยมกระทำกันทั่วไปในสังคม ส่วนพระราชพิธีที่ปรากฏอยู่ ได้แก่ พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก และพิธีทำน้ำอภิเษก เป็นต้น


 


สำหรับพิธีกรรมในศาสนาฮินดูซึ่งเป็นพราหมณ์ใหม่ ไม่ใคร่มีอิทธิพลมากนักแต่ก็มีผู้นับถือและสนใจร่วมในพิธีกรรม


เป็นครั้งคราว ทั้งนี้อาจเป็นเพราะความเชื่อในพระเป็นเจ้าตรีมูรติทั้ง 3 องค์ ยังคงมีอิทธิพลควบคู่ไปกับการนับถือ


พุทธศาสนา ประกอบกับในโบสถ์ของพวกฮินดูมักจะตั้งพระพุทธรูปรวม ๆ ไปกับรูปปั้นของพระผู้เป็นเจ้า ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากความเชื่อในเรื่องอวตารของพระวิษณุ ทำให้คนไทยที่นับถือพุทธศาสนาบางกลุ่มนิยมมาสวดอ้อนวอนขอพรและบนบานหลายคนถึงขนาดเข้าร่วมพิธีกรรม ของฮินดู จึงเข้าลักษณะที่ว่านับถือทั้งพุทธ ทั้งฮินดู ปนเปกันไป


 


 


แหล่ง ทีมา :  โบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า


 


 



__________________
Page 1 of 1  sorted by
 
Quick Reply

Please log in to post quick replies.

Tweet this page Post to Digg Post to Del.icio.us


Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard