Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: ธุรกิจพระเครื่องปี'48 : มูลค่าเกือบ 20,000 ล้าน


Veteran Member

Status: Offline
Posts: 42
Date:
ธุรกิจพระเครื่องปี'48 : มูลค่าเกือบ 20,000 ล้าน
Permalink   


ธุรกิจพระเครื่องปี'48 : มูลค่าเกือบ 20,000 ล้านบาท
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด  ปีที่ 11 ฉบับที่ 1707 วันที่ 19 มกราคม 2548





บทสรุปสำหรับผู้บริหาร


        ความนิยมในการสะสมพระเครื่องทำให้เกิดธุรกิจให้เช่า(ขาย)หรือรับเช่า(ซื้อ)พระเครื่อง-พระบูชาอย่างกว้างขวาง และมีธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้องอีกหลากหลายธุรกิจ ความเฟื่องฟูและซบเซาของวงการพระเครื่องนั้นค่อนข้างจะผูกติดหรือไปในทิศทางเดียวกันกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ วงการพระเครื่องฟื้นตัวอย่างชัดเจนในปี 2546 และในปี 2547 ต่อเนื่องถึงปี 2548 วงการพระเครื่องยังคงมีแนวโน้มคึกคักอย่างต่อเนื่อง โดยจะเห็นได้จากราคาพระเครื่องเริ่มมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะพระกรุและพระเครื่องยอดนิยมต่างๆ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ในการสร้างพระเครื่องและวัตถุมงคล รวมทั้งการจัดประกวดพระเครื่องที่เกิดขึ้นกันแทบทุกสัปดาห์ ธุรกิจแผงพระที่เริ่มมีผู้คนคึกคักมากขึ้น และบรรดาผู้ประกอบธุรกิจแผงพระเริ่มขยายธุรกิจมากขึ้น โดยการเปิดกิจการในหลายพื้นที่ รวมทั้งยังได้ปัจจัยหนุนจากการที่มีนักลงทุนชาวต่างประเทศหันมาสนใจเช่าพระเครื่องและวัตถุมงคลจากไทยเพื่อนำไปให้เช่าต่อสำหรับผู้ที่สนใจพระเครื่องและวัตถุมงคลของไทยในต่างประเทศ หรือทำเป็นพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวในต่างประเทศ


        สถานการณ์ในวงการพระเครื่องในปี 2547 ราคาพระเครื่องมีการปรับราคาขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพระชุดยอดนิยมปรับราคาขึ้นถึงร้อยละ 40 และมีความต้องการเข้ามาอย่างต่อเนื่อง แต่ผู้ขายก็ไม่สามารถหาของมาให้ลูกค้าได้ตามความต้องการ เนื่องจากในปัจจุบันพระชุดยอดนิยมได้หายไปจากสนามพระ ทำให้พระเครื่องระดับรองๆ เช่น พระชินราชอินโดจีน(ปี 2485) ของวัดสุทัศน์ พระเครื่องเมืองกำแพงเพชรพิมพ์นาง เป็นต้น หรือพระเครื่องของบรรดาเกจิอาจารย์ที่มีประสบการณ์อัศจรรย์ปรากฎอยู่ตามหน้าหนังสือพิมพ์อยู่เนืองๆ เช่น หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม เป็นต้น รวมทั้งพระเครื่องรูปหลวงปู่ทวดที่ปลุกเสกโดยหลวงปู่พิม วัดช้างไห้ จังหวัดปัตตานีในยุคหลังๆ หรือพระเครื่องหลวงปู่ทวดที่ปลุกเสกโดยอาจารย์นอง วัดทรายขาว ซึ่งพระเครื่องเหล่านี้เริ่มเป็นที่เสาะแสวงหาของนักสะสมพระเครื่อง ทำให้ราคาพระเครื่องเหล่านี้มีโอกาสที่จะปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพระเครื่องเหล่านี้ยังมีปริมาณเพียงพอที่จะมีการหมุนเวียนอยู่ในตลาดพระเครื่องอีกด้วย โดยในวงการพระเครื่องเรียกพระเครื่องเหล่านี้ว่า “พระมีอนาคต” อย่างไรก็ตามเมื่อพระเครื่องชุดใดเริ่มเป็นที่นิยมในวงการพระเครื่อง ก็จะมีพวกมือผีปลอมพระเครื่องชุดดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันทำได้ใกล้เคียงอย่างมาก ถ้าไม่ชำนาญจริงแล้วก็จะโดนหลอกได้ง่าย โดยพระปลอมเหล่านี้นับว่าเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ราคาค่าเช่าบูชาพระเครื่องไม่เปลี่ยนแปลงหวือหวามากนัก


      บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด คาดว่าเม็ดเงินในธุรกิจพระเครื่องและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องในปี 2548 นี้สูงถึงเกือบ 20,000 ล้านบาท และธุรกิจเหล่านี้ยังมีโอกาสเติบโตอย่างต่อเนื่องตามภาวะเศรษฐกิจ โดยคาดว่าจะยังมีอัตราขยายตัวเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 10-20 ต่อปี


      ธุรกิจพระเครื่องและหลากธุรกิจที่เกี่ยวข้องมีเม็ดเงินหมุนเวียนคล่องตัวมากขึ้น โดยธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับพระเครื่องที่น่าสนใจได้แก่


     -ธุรกิจการสร้างพระ ในกระบวนการสร้างพระเครื่องนั้นต้นทุนการผลิตแตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัสดุมวลสาร ปริมาณการสร้างแต่ละครั้ง วิธีการสร้าง ขนาดของพระเครื่องที่จะสร้าง การประกอบพิธีพุทธาภิเษก และการโฆษณาประชาสัมพันธ์การสร้างพระเครื่องในแต่ละรุ่น


     -ธุรกิจแผงพระ ปัจจุบันแผงพระและศูนย์พระเครื่องมีอยู่ถึงกว่า 5,000 แผงทั่วประเทศ โดยอยู่ในกรุงเทพฯกว่า 3,000 แผง ทั้งนี้เป็นแหล่งที่เป็นที่รู้จักได้แก่ ศูนย์พระเครื่องที่ท่าพระจันทร์ วัดราชนัดดา สวนจตุจักร ศูนย์พระเครื่องที่เดอะมอลล์ท่าพระ ศูนย์พระเครื่องที่เดอะมอลล์บางกะปิ ห้างน้อมจิตต์ สาขาบางกะปิ ห้างบางลำภูสรรพสินค้า เป็นต้น



-- Edited by sriganapati at 12:05, 2005-10-23

__________________
Page 1 of 1  sorted by
 
Quick Reply

Please log in to post quick replies.

Tweet this page Post to Digg Post to Del.icio.us


Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard